คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา

ข้อมูลทั่วไป

ประวัติ2

                      คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เป็นหน่วยงานผลิตและพัฒนาครูที่มีการพัฒนาการ

มาจาก “โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า” ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๘ จนถึงปัจจุบันมีสถานะเป็นคณะครุศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา โดยมีพัฒนาการที่สำคัญ ๔ ช่วง ตามลำดับดังต่อไปนี้

                     -  ปี พ.ศ. ๒๔๔๘ (๑ กรกฎาคม) ก่อตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า” ที่หลังพระราชวังจันทรเกษม

มณฑลกรุงเก่าจัดสอนวิชาสามัญอนุโลมเพิ่มเติมวิชาครูหรือหลักสูตรครูมูลฐาน (ครู ป.)

                     -  ปี พ.ศ. ๒๔๕๘ โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่าได้เปลี่ยนระเบียบตามระเบียบการฝึดหัดครูมูลหัวเมือง

ของกระทรวงธรรมการ

                     -  ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ ตั้ง “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลกสิกรรม” ที่ตำหนักเพนียด มณฑลกรุงเก่าโดยจัดสอนวิชาสามัญ

(ให้เรียนวิชากสิกรรม)

                     -  ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ยุบเลิกแผนกฝึกหัดครูมูลสามัญ (โรงเรียนฝึกหัดครูเมืองกรุงเก่า) รวมอยู่ใน 

“โรงเรียนฝึกหัดครูมูล” ที่ตำหนักเพนียดมณฑลกรุงเก่าและได้ยุบเลิกหลักสูตรครูมูล (ครู ป.)

                    -  ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ปรับเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูมูลฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”

โดยตัังที่ตำหนักเพนียดจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและได้เปิดสอนหลักสูตรครูมูลกสิกรรม พ.ศ. ๒๔๖๗ ตามเดิม

                    -  ปี พ.ศ. ๒๔๗๙ (๑ มิถุนายน) ได้แยกเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา”

(โรงเรียนฝึกหัดครูชาย ซึ่งชาวบัานเรียกว่า โรงเรียนประกาศหรือโรงเรียนผักกาด ที่กรมทหารหัวแหลมและ

“โรงเรียนฝึกหัดครูสตรีประกาศนียบัตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา” (โรงเรียนฝึกหัดครูสตรี) โดยเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตร

จังหวัด (ครู ว.) และประกาศนียบัตรครูประชาบาล (ครู ป.บ.)

                    – ปี พ.ศ.๒๔๘๔ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรพระนครีศรีอยุธยา ย้ายไปอยู้ที่ข้างวัดโพธิ์ (โรงเรียนประตูชัยในปัจจุบัน)

ส่วนโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีฯย้ายไปอยู่ ต.หอรัตนชัย (หอพักอู่ทองในปัจจุบัน)

                     - ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ โรงเรียนฝึกหัดครูประกาศนียบัตรจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเปลี่นชื่อเป็น “โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา”

โดยเปลี่ยนระเบียบของหลักสูตรครู ว. และป.บ.

                    – ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ มีการยกฐานะกองฝึกหัดครูเป็นกรมการฝึกหัดครูและยกเลิกการผลิตครู ว.ครูป.บ. และครูป.

                    – ปี พ.ศ.๒๔๙๘ เริ่มใช้ระบบการฝึกหัดครูของกรมการฝึกหัดครูและเปิดสอนหลักสูตร ครูป.กศ

ช่วงเป็นวิทยาลัยครู (พ.ศ.๒๕๐๙-๒๕๓๗)

                   - ปี พ.ศ.๒๕๐๙ โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครศรีอยุธยา ได้ยกฐานะเป็น “วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา” และย้ายมาตั้งที่เลขที่

๙๖ ถนนโรจนะ (ที่ตั้งปัจจุบัน)

                   – ปี พ.ศ. ๒๕๑๑ รวมโรงเรียนฝึกหัดครูสตรีพระนครศรีอยุธยา เข้ากับวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา เป็นวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา

ตามเดิม

                 – ปี พ.ศ. ๒๕๑๗ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี (ป.อ.) ครูสอนระดับ ป.กศ.สูง และค.บ. (๒ ปี)

                  - ปี พ.ศ. ๒๕๒๓ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ได้เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ค.บ. (๔ ปี)

                  - ปี พ.ศ. ๒๕๒๔ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา ได้ใช้หลักสูตรสภาการฝึกหัดครู พ.ศ. ๒๕๒๔

                  - ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา เปิดสอนโดยมีระบบหลักสูตร สาขาวิชาอื่น นอกเหนือจากสาขาวิชาชีพครูด้วย

ช่วงเป็นคณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏ (พ.ศ. ๒๕๓๘ – ๒๕๔๖)

                  - ปี พ.ศ. ๒๕๓๘ (๒๘ มกราคม) วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา เปลี่ยนสถานะเป็น “สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา” และเกิด

“คณะครุศาสตร์” ขึ้นเป็นส่วนราชการที่มีภารกิจจัดการศึกษาตามหลักสูตรสาขาการศึกษา

ช่วงเป็นคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ (พ.ศ. ๒๕๔๗ – ปัจจุบัน)

                 – ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เปลี่ยนสถานะเป็น “คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ

พระนครศรีอยุธยา” ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗

                 - ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ จนถึงปัจจุบัน คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มีพัฒนาการในการผลิต และพัฒนา

ครูต่อเนื่องมีการขยายการจัดการศึกษาครอบคลุมตั้งแต่ระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา มัธยมศึกษา ปริญญาตรี ปริญญาโท

และปริญญาเอก มีการจัดการเรียนการสอนสาขาการศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต (คบ.) ๕ปี จำนวน ๑๐ สาขาวิชา คือ สาขาวิชาคณิตศาสตร์

สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา สาขาวิชาพลศึกษา

สาขาวิชาการประถมศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาไทย สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ สาขาวิชาการศึกษาพิเศษฯนอกจากนี้

ยังได้เปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต (ป.บัณฑิต) วิชาชีพครู และการบริหารการศึกษาหลักสูตร

ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) การจัดการการเรียนรู้ และการบริหารการศึกษาและหลักสูตรครุศาสตรดุษฏีบัณฑิต (ด.ด.) การบริหาร

การศึกษา